สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

 ลักษณะที่ตั้ง/เนื้อที่

            องค์การบริหารส่วนตำบลดอนหว่าน เป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 13 ตำบล ของอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม  ที่ทำการตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองไปทางทิศใต้ของอำเภอเมือง ประมาณ  21  กิโลเมตร  การเดินทางเข้าสู่พื้นที่โดยทางรถยนต์  ใช้เส้นทางสายมหาสารคาม – วาปีปทุม  โดยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้

ทิศเหนือ จดตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากกึ่งกลางห้วยหนองแวงน้อย ต่อกับห้วยวังยาว บริเวณพิกัด U C 147709 ไปทางทิศตะวันออก บริเวณพิกัด U C 177709 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามทุ่งนา ถึงกึ่งกลางทางหลวงหมายเลข 2040 บริเวณพิกัด U C 201713 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามทุ่งนา สิ้นสุดที่หลักไม้แก่น บริเวณพิกัด U C 227718 รวมระยะทางด้านทิศเหนือ ประมาณ 6 กิโลเมตร

ทิศใต้ จดตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และตำบลบัวค้อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากหลักไม้แก่นกลางทุ่งนา บริเวณพิกัด U C 218673 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามทุ่งนา ถึงกึ่งกลางทางหลวงหมายเลข 2040 บริเวณพิกัด U C 212672 ไปทางทิศตะวันตกตามทุ่งนา ถึงกึ่งกลางถนนสายบ้านเหล่าหนาด-บ้านโคกไร่น้อย บริเวณพิกัด U C 197670 ไปทางทิศตะวันตก สิ้นสุดที่กึ่งลางห้วยวังโพน บริเวณพิกัด U C 193675 รวมระยะทางด้านทิศใต้ ประมาณ 2.5 กิโลเมตร

ทิศตะวันออก จดตำบลวังแสง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากหลักไม้แก่นกลางทุ่งนา บริเวณพิกัด U C 227718 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามทุ่งนา ถึงกึ่งกลางถนนสายบ้านหนองหล่ม-บ้านแกดำ บริเวณพิกัด U C 230710 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตามทุ่งนา สิ้นสุดที่หลักไม้แก่นกลางทุ่งนา บริเวณพิกัด U C 218637 รวมระยะทางด้านทิศตะวันออก ประมาณ 5.5 กิโลเมตร

           ทิศตะวันตก  จดตำบลบัวค้อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากจุดกึ่งลางห้วยวังโพน บริเวณพิกัด U C 193675  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือกึ่งกลางห้วยวังโพน ถึงกึ่งกลางห้วยหนองแวงน้อย บริเวณพิกัด U C 175703 ไปทางทิศเหนือกึ่งกลางห้วยหนองแวงน้อย สิ้นสุดที่กึ่งกลางห้วยหนองแวงน้อย บริเวณพิกัด U C 1774709 รวมระยะทางด้านทิศใต้ ประมาณ 5 กิโลเมตร 

  ลักษณะภูมิประเทศ

              สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปส่วนใหญ่เป็นที่ดอน ไม่มีภูเขา เป็นเนินดินสูงๆ ต่ำๆ ทั่วไป ลักษณะเป็นดินทราย มีน้ำน้อย มีลำน้ำไหลผ่าน 4 สาย มีป่าไม้ชุมชน พื้นที่ส่วนใหญ่ราษฎรทำการเกษตร เช่น ปลูกข้าวนาปี ปลูกมันสำปะหลัง  ทำสวน ฯ

  ลักษณะภูมิอากาศ

              สภาพภูมิอากาศที่เป็นแบบเขตร้อนและกึ่งร้อน มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน มี 3 ฤดู  คือ  ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม  ฤดูฝน จะมีฝนตกชุกในช่วงเดือนมิถุนายน – ตุลาคม และฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – มกราคม 

  ลักษณะของดิน

              สภาพของดิน พื้นที่ทั้งหมดในเขตตำบลดอนหว่านเป็นดินทราย

ปัญหาของดินทรายแบ่งออกเป็น 3 ปัญหาหลัก ดังนี้

  1. ปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของดินเป็นปัญหาที่รุนแรงในพื้นที่เนื่องจากอนุภาคของดินเกาะกันอย่างหลวมๆ การชะล้างพังทลายของดินทำให้เกิดปัญหาติดตามมาหลายชนิด เช่น เกิดสภาพเสื่อมโทรม เกิดความแห้งแล้งซ้ำซาก
  2. ปัญหาที่เกี่ยวกับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำปริมาณอินทรีย์วัตถุ ความสามารถในการแลกเปลี่ยนธาตุอาหารต่ำมาก เป็นเหตุให้การใช้ปุ๋ยเคมีให้ผลตอบสนองต่อพืชต่ำ และเป็นผลให้ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ลดลงด้วย
  3. ปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกายภาพของดินไม่ดี ได้แก่ ดินแน่นทึบ โดยเฉพาะดินพื้นที่นาที่มีค่อนข้างเป็นทรายละเอียด มีอินทรีย์วัตถุเป็นองค์ประกอบต่ำ จะมีผลทำให้ดินอัดตัวแน่นทึบ ยากแก่การไชของรากพืช         

  ลักษณะของแหล่งน้ำ

1.       แหล่งน้ำธรรมชาติ

                    บึง,หนอง และอื่นๆ  จำนวน  8   แห่ง

  • หนองขามป้อม หมู่ที่ 2 เนื้อที่ประมาณ 16 ไร่ 1 งาน 83 ตร.ว.
  • หนองหนายช้าง หมู่ที่ 2 เนื้อที่ประมาณ 24 ไร่ 2 งาน 87 ตร.ว.
  • หนองหล่ม หมู่ที่ 3 เนื้อที่ประมาณ 23 ไร่ 2 งาน 94.3 ตร.ว.
  • หนองสาธารณะบัวแก้วราษฎร์ดุสิต หมู่ที่ 5 เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ – งาน 11. ตร.ว.
  • หนองปอแดง หมู่ที่ 6 เนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ – งาน 59.8 ตร.ว.
  • หนองปลิงสาธารณประโยชน์ หมู่ที่ 8 เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ – งาน 49.5 ตร.ว.
  • หนองปลิงใหญ่สาธารณประโยชน์ หมู่ที่ 8 เนื้อที่ประมาณ 57 ไร่ 3 งาน 6.2 ตร.ว.
  • หนองซองแมวสาธารณประโยชน์ หมู่ที่ 8 เนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ – งาน 21 ตร.ว.

ลำน้ำ,ลำห้วย                     จำนวน                    4        สาย

     2.       แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

  • ฝาย                            จำนวน                    5        แห่ง
  • บ่อน้ำตื้น                     จำนวน                    36      แห่ง

พื้นที่ป่าและที่สาธารณประโยชน์ที่สำคัญ  ได้แก่ 

    หมู่ที่ 1

  • โคกฝายบ้านเหล่าหนาด เนื้อที่ประมาณ 81 ไร่ 1 งาน 89.8 ตร.ว.
  • โคกกลางสาธารณประโยชน์ เนื้อที่ประมาณ 38 ไร่ 3 งาน 37 ตร.ว.
    หมู่ที่ 2
  • ดอนดู่ เนื้อที่ประมาณ 16 ไร่ 3 งาน 59 ตร.ว.
    หมู่ที่ 3
  • โคกป่าไม้งาม เนื้อที่ประมาณ 44 ไร่ 1 งาน 35.9 ตร.ว.
    หมู่ที่ 4
  • โคกทำเล เนื้อที่ประมาณ 23 ไร่ 2 งาน 42.3 ตร.ว.
    หมู่ที่ 6
  • ป่าช้าบ้านโนนทอง เนื้อที่ประมาณ 18 ไร่ 3 งาน 57.1 ตร.ว.
    หมู่ที่ 7
  • ป่าช้าสาธารณประโยชน์ (ดอนปู่ตา) เนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ – งาน 50 ตร.ว.
    หมู่ที่ 8
  • ป่าช้าสาธารณประโยชน์ เนื้อที่ประมาณ 19 ไร่ 3 งาน 4.6 ตร.ว.
  • ดอนกลางสาธารณประโยชน์ เนื้อที่ประมาณ 26 ไร่ 3 งาน 1 ตร.ว.
  • ดอนปู่บ้านหัวหนองสาธารณประโยชน์ เนื้อที่ประมาณ 39 ไร่ – งาน 50.5 ตร.ว.